เนื้อหานี้เป็นการทวนเพื่อสอบ LAB วิชา Computer Network (KMUTNB) เท่านั้น เนื้อหาค่อนข้างเจาะจงและเป็นการทำแบบ Static IP ไม่ใช่ DHCP (จ่าย IP อัตโนมัติ)
โจทย์
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T1.png)
เชื่อมต่อและตั้งค่า addresses ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในไฟล์ Packet tracer “266Exercise.pkt” ที่กําหนดให้ โดยมีข้อมูลประกอบดังนี้
- Router R1 และ R2 ถูกตั้งค่าไว้ให้แล้ว ห้ามแก้ไขค่า Configuration
- ค่า Default Gateway ของแต่ละ subnet ให้นักศึกษาสืบค้นจากอุปกรณ์เอง
- SwitchA แบ่ง VLAN70 VLAN80 VLAN90 และ VLAN 100 และกําหนด port สําหรับ แต่ละ VLAN ไว้ให้แล้ว
- SwitchA เชื่อมต่อกับ Router ผ่านทางพอร์ต Fa0/24 ของ SwitchA
เมื่อเชื่อมต่อและตั้งค่า Address ถูกต้องแล้ว PC ทุกตัวควรจะต้องประสบสําเร็จในการ ping ระหว่างกันและประสบความสําเร็จในการดึงหน้า web จาก web server1
จากไฟล์จะยังไม่มีการต่อสายใด ๆ ยกเว้นระหว่าง Router R1 กับ R2
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T2-1024x416.png)
ให้ต่อวง Network ที่เป็นวงเดี่ยวก่อน โดยหากมีอุปกรณ์มากกว่า 1 เครื่องให้เอา Switch มาต่อ (อย่าลืมกำหนด IP Address / Subnet mask และ Default Gateway ให้อุปกรณ์ในเครือข่าย)
Tips
หากโจทย์ไม่ได้ระบุ Port กับวงแลนของ Router แล้วต้องการดูวงแลนของ port ที่ถูก set ไว้บน router ให้ทำการคลิกที่ router เลือก config คลิกที่ Interface ที่ต้องการดู สังเกตุตัวเลข IPv4 Address หากอยู่ในชุดไหนคือของวงนั้น (สังเกตุ ตัวที่อยู่ด้านหน้า)
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T3-768x544.png)
Tips
การตั้ง IP ให้กับอุปกรณ์ในเครือข่ายให้เราดูก่อนว่า อุปกรณ์นั้นอยู่ในเครือข่ายวงไหนจากนั้นสังเกตที่ Subnet ของวงนั้น หากเป็น /24 /16 /8 จะเป็นการเปลี่ยนตำแหน่งของเลขชุดที่ 4 3 2 ตามลำดับ เช่น 192.168.0.0/24 = มี 255 IP Address ลบ Subnet Address (.0 ตัวแรก) และ boardcast address (.255 ตัวท้าย) = เหลือ IP Address 254 ตัว ตั้งแต่ .1 – .254 โดยถ้าหากนำไปใช้เป็น Default Gateway อีก 1 จะเหลือ 253 ตัว ให้เครื่องในเครือข่าย โดยเราสามารถตั้งเลขไหนก็ได้ที่อยู่ในช่วงนี้
Tool:
สามารถใช้ Web IP Subnet Calculator ในการคำนวณหาช่วง IP ได้
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T4-768x432.png)
หาก Router มีการกำหนด Default Gateway มาแล้วเราสามารถดู Subnet Mask จากการตั้งค่าของ Router ได้ โดยคลิกที่ Router -> Config -> Interface ที่ต้องการดู
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T6.png)
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T5.png)
เมื่อต่ออุปกรณ์ที่เป็นวงเดียวเสร็จจะได้ดังภาพ
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T7-768x394.png)
ต่อไปเป็นการต่อวงที่เป็น VLAN
VLAN เป็นการรวม Interface หลาย ๆ อัน(เป็นการจำลอง)ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อส่งผ่าน Physical Interface(ที่มีอยู่จริง) => [แบบเข้าใจง่าย] สายแลน 1 เส้นมี Port อยู่ 10 Port (ทางกายภาพยังคงเห็นเป็น 1 Port)
ใน LAB นี้ที่ตัว Router R2 มีการ Set VLAN ที่ Port Gi0/0 ไว้แล้ว เมื่อเราเอาเมาส์ไปวางบน Router เราจะได้เห็นกับ Interface ย่อย (vlan) ที่อยู่ใน Gi0/0 หรือใช้คำสั่ง “show interface” ผ่าน CLI
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T8.png)
GigabitEthernet0/0.1 .70 .80 .90 .100 คือ vlan ที่ถูกสร้างอยู่ภายใต้ Physical Interface GigabitEthernet0/0 โดยตัว IP Address ของแต่ละ Port คือ Default Gateway ของวงนั้น ๆ
ให้เราทำการเชื่อมต่อ Switch กับ Router ตามที่โจทย์กำหนด (24 เป็น Trunk Port สามารถรับ vlan หลาย ๆ อันได้ ส่วน Port อื่น ๆ เป็น Access port ใช้เพื่อเข้าถึงเท่านั้น)
ต่อมาที่ตัว Switch จะต้องมีการกำหนดค่าของ vlan ให้ตรงกับตัว router และ Assign port กับตัว vlan สามารถเอาเมาส์ไปวางที่ switch เพื่อดูได้เลย
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/T9.png)
ที่เหลือเพียงแค่เชื่อมต่อ PC ให้ตรงกับ port ที่ถูก Assign vlan มาแล้วให้ถูก และทำการกำหนด IP Address, Subnet mask และ Default Gateway ให้กับ PC ก็จะสามารถ Ping หากันและเข้าถึง Web Server ได้
![](https://blogs.wutthiphon.space/wp-content/uploads/2024/03/Screenshot-2024-03-11-212107-1024x416.png)